เครื่องมือแพทย์

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในปัจจุบัน  เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบันทำให้คนหันมาใส่ใจในกับสุขภาพมากขึ้น จำนวนผู้ใช้บริการทางการแพทย์ต่อปีจึงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย เครื่องมือทางการแพทย์ก็ต้องมีความพร้อมในการใช้งานและรองรับผู้ป่วยได้ทันท่วงที หรือแม้แต่การแพทย์ด้านความสวยงามก็เช่นเดียวกัน ตลาดส่วนนี้มีความต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อดึงดูดใจผู้ใช้บริการ ดังนั้นแนวโน้มตลาดอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ในประเทศไทยจึงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยที่ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพของโลกประกอบกับธุรกิจโรงพยาบาลรัฐ และเอกชนกำลังเร่ง ปรับตัวเพิ่มศักยภาพทางด้านการรักษาทางการแพทย์ ทำให้มีการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อรองรับบริการของผู้ป่วยมากขึ้น1ปัจจุบันอุตสาหกรรมนี้ได้มีการพัฒนาการผลิตและการส่งออกก่อให้เกิดรายได้และการจ้างแรงงาน  จำนวนมาก อีกทั้งตลาดเครื่องมือแพทย์ของโลกมีการเติบโตและมีการสั่งซื้อสินค้าจากทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยประเทศไทยครองอันดับผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากมาเลเซีย
เครื่องมือแพทย์คืออะไร
พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 4 ได้กำหนดนิยามของคำว่าเครื่องมือแพทย์ซึ่งอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า เครื่องมือแพทย์ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการประกอบวิชาชีพของแพทย์  พยาบาล เทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด หรือสัตวแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์ในการใช้ให้มีผลต่อร่างกายมนุษย์ หรือสัตว์ รวมถึงส่วนประกอบของเครื่องมือแพทย์ดังกล่าวข้างต้น และยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นเครื่องมือแพทย์ด้วย เช่น ถุงยางอนามัย 
ในการพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ใดจัดเป็นเครื่องมือแพทย์หรือไม่ ต้องพิจารณาทั้งสภาพ หรือลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ หรือสรรพคุณหรือข้อบ่งใช้ของผลิตภัณฑ์ หรืออาจต้องพิจารณาร่วมกันทั้งสองอย่าง   
อุปกรณ์ และเครื่องมือบางประเภทบุคคลทั่วไปทราบอยู่แล้วว่าเป็นเครื่องมือแพทย์ เนื่องจากนำมาใช้ในทางการแพทย์ และเป็นเครื่องมือแพทย์โดยสภาพอยู่แล้ว เช่น มีดผ่าตัด เครื่องเอ็กซเรย์ เข็มฉีดยา ฯลฯ แต่ผลิตภัณฑ์บางประเภทมีความไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะสรุปว่าเป็นเครื่องมือแพทย์หรือไม่ จึงต้องพิจารณาแต่ละผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้กับเครื่องมือแพทย์ก็จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ เนื่องจากเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้โดยบุคลากรทางการแพทย์ ในขณะที่บางผลิตภัณฑ์โดยสภาพไม่เป็นเครื่องมือแพทย์ แต่ฉลากหรือเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์แสดงสรรพคุณต่อร่างกาย เช่น กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตต่อร่างกาย จึงจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ เนื่องจากเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ เช่น อุปกรณ์แม่เหล็ก เก้าอี้นวด...
อ่านรายละเอียดทั้งหมด