อาหาร

อาหารที่มีคุณค่าต้องเป็นอาหารมีความปลอดภัยในการบริโภค และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีคุณภาพมาตรฐาน และมีคุณค่าทางโภชนาการเหมาะแก่ผู้บริโภคในแต่ละวัย 
ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522  อาจแบ่งอาหารออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. อาหารควบคุมเฉพาะ
2. อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน
3. อาหารที่ต้องมีฉลาก
4. อาหารทั่วไป
ในการประกอบธุรกิจด้านอาหาร มีมาตรการในการขออนุญาตดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้อาหารมีความปลอดภัยในการบริโภค ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตต่อหน่วยงานของรัฐก่อนดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับหน่วยงานท้องถิ่น และหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
การขออนุญาตที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหารอาจพิจารณาได้ดังนี้

1. การขออนุญาตเกี่ยวกับสถานที่ผลิตหรือนำเข้าอาหาร
1.1 กรณีสถานที่ผลิต หรือนำเข้าอาหาร (อาหารทุกประเภท) มีลักษณะเป็นโรงงานต้องยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร หรือนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร โดยยื่นแบบ อ.1 นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะนำเข้าอาหารจะต้องได้รับ “ใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร” โดยยื่นคำขอตามแบบ อ.6
1.2 กรณีสถานที่ผลิตอาหาร (อาหารควบคุมเฉพาะ อาหารกำหนดคุณภาพ อาหารที่ต้องมีฉลาก และอาหารทั่วไปเฉพาะอาหารแช่เยือกแข็ง) ไม่เข้าลักษณะโรงงานจะต้องยื่นคำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหาร โดยยื่นแบบสบ. 1
1.3 กรณีผลิตอาหารเฉพาะคราวต้องได้รับ “ใบอนุญาตผลิตอาหารเป็นการเฉพาะคราว” ก่อน โดยให้ผู้ประกอบการยื่นคำขอตามแบบ อ.11
2. การขออนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร
2.1 คำขอรับเลขสารบบอาหารผู้รับอนุญาตตั้งโรงงานผลิต นำเข้า สถานที่ผลิตอาหารที่มีการผลิต หรือนำเข้าอาหารดังต่อไปนี้
- อาหารควบคุมเฉพาะ ต้องยื่นคำขอรับเลขสารบบอาหาร ได้แก่ การยื่นขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือขอใช้ฉลากอาหาร
- อาหารกำหนดคุณภาพ หรือมาตรฐาน ต้องยื่นคำขอรับเลขสารบบอาหาร ได้แก่ การยื่นขอจดทะเบียนอาหาร
- อาหารที่ต้องมีฉลาก ต้องยื่นคำขอรับเลขสารบบอาหาร ได้แก่การยื่นแจ้งรายละเอียดอาหาร
- อาหารทั่วไปไม่ต้องขอรับเลขสารบบอาหาร...
อ่านรายละเอียดทั้งหมด