การจำหน่ายสุรา

ในปัจจุบันนี้ สุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหลายนั้นเป็นเครื่องดื่มที่นิยมนำมาใช้ในการเฉลิมฉลองในทุกเทศกาล หรือในโอกาสต่างๆ การพบปะสังสรรค์ในสังคม ธุรกิจสุราจึงมีแนวโน้มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงการจำหน่ายเบียร์  ไวน์ ไวน์องุ่น ไวน์ที่ได้จากการหมักผลไม้อื่นๆ สปาร์กลิ้งไวน์ และสุราแช่พื้นเมือง เช่น อุ กระแช่ น้ำตาลเมา น้ำตาลขาว สาเก เป็นต้น 
แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่ของกฎหมายก็มีมาตรการการควบคุมการจำหน่ายสุราด้วยการออกใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ.2493 เพื่อลดปัญหาและผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม  ช่วยสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน รวมทั้งได้รับความปลอดภัยในการบริโภคสุรา ในเบื้องต้น ผู้ประกอบการพึงต้องพิจารณาในเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ 
สุรา หมายถึง วัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุราหรือซึ่งดื่มกินไม่ได้ แต่เมื่อได้ผสมกับน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นแล้ว สามารถดื่มกินได้เช่นเดียวกับน้ำสุรา หากผู้ประกอบการประสงค์จะประกอบธุรกิจจำหน่ายสุรา ก็จะต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราก่อนเสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าผู้ประกอบการต้องการขายสุราทุกชนิด หรือเฉพาะสุราที่ผลิตในประเทศ ทั้งนี้ ถ้าเป็นการจำหน่ายสุราที่ผลิตในต่างประเทศ ก็จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนการนำเข้าสุราด้วย
การนำเข้าสุราที่ผลิตในต่างประเทศ เพื่อจำหน่าย  ถ้าเป็นกรณีนำสุราเกินกว่าหนึ่งลิตรเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้ประกอบการจะต้องยื่นคำขออนุญาตนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร ต่อเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ ที่สถานประกอบการค้าหรือด่านศุลกากรตั้งอยู่ พร้อมทั้งต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุราด้วย โดยมีหลักเกณฑ์ที่จะต้องขออนุญาตเพิ่มเติม ดังนี้ 
1. การนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อจำหน่ายในร้านค้าปลอดอากร ผู้ประกอบการก็จะต้องได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรจากกรมศุลกากรก่อนด้วย จึงจะสามารถประกอบกิจการได้ 
2. ถ้าไม่ได้นำเข้ามาจำหน่ายในคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทร้านค้าปลอดอากรดังกล่าว สามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี 
กรณีที่ 1 การนำเข้าสุราชนิดหรือประเภทต่างๆ นอกจากสุราแช่ประเภทไวน์ ผู้ประกอบการจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากผู้ผลิตสุราในต่างประเทศ ให้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว และได้รับอนุมัติจากกรมสรรพสามิตให้ใช้ฉลากสำหรับปิดภาชนะบรรจุสุรา พร้อมทั้งปิดฉลากนั้นก่อนนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักร
  กรณีที่ การนำเข้าสุราแช่ประเภทไวน์ ผู้ประกอบการไม่จำต้องได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียว และไม่จำต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพสามิตให้ใช้ฉลากสำหรับปิดภาชนะบรรจุสุรา แต่ยังคงต้องขออนุญาตนำสุราเข้ามาในราชอาณาจักรและขออนุญาตขายสุราด้วย ทั้งนี้ ให้นำเข้าทางด่านศุลกากรกรุงเทพมหานครหรือด่านศุลกากรอื่นตามที่อธิบดีกำหนด (ด่านศุลกากรแหลมฉบัง ด่านศุลกากรหนองคาย ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร ด่านศุลกากรที่ตั้งอยู่ในบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และด่านศุลกากรอื่นที่อธิบดีกรมสรรพสามิตหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายพิจารณาอนุมัติเป็นกรณีไป)  ...
อ่านรายละเอียดทั้งหมด