การจำหน่ายยาสูบ

ยาสูบเป็นพรรณไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง ซึ่งส่วนประกอบต่างๆของต้นยาสูบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันไป โดยเฉพาะส่วนใบยาสูบ ได้ถูกนำมาใช้ทำเป็นยาสูบ ยาเส้น และมวนบุหรี่ ทำให้ยาสูบกลายมาเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน และในประเทศไทยเองก็มีการปลูกยาสูบหลายสายพันธุ์ โดยส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณพื้นที่เขตภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกด้วย 
แม้สินค้ายาสูบจะเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยม แต่ก็ยังคงต้องมีการควบคุมการจำหน่ายยาสูบด้วยในทางกฎหมาย เพื่อความสงบเรียบร้อยในสังคม รวมถึงสุขภาพที่ดีของประชาชน โดยพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 ได้กำหนดเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการพึงทราบในเบื้องต้น ได้แก่ ความหมายของ “ยาสูบ” ในแง่ของกฎหมาย แบ่งเป็นหลายชนิด ได้แก่ บุหรี่ซิกาแรต บุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง และให้รวมตลอดถึงยาเคี้ยวด้วย
“ยาเส้น” หมายถึง ใบยาหรือยาอัดซึ่งได้หั่นเป็นเส้น และแห้งแล้ว ทั้งนี้ ความหมายของยาเส้น และยาสูบ รวมทั้งจำนวนในการขายยาเส้นหรือยาสูบในแต่ละครั้ง ได้ถูกนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกประเภทของใบอนุญาต หากผู้ประกอบการประสงค์จะประกอบธุรกิจขายยาสูบ หรือยาเส้น ไม่ว่าจะผลิตในประเทศและต่างประเทศ หรือนำยาเส้นหรือยาสูบดังกล่าวออกแสดงเพื่อขาย จะต้องยื่นขอใบอนุญาตขายยาสูบ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่/พื้นที่สาขาที่ร้านค้าตั้งอยู่  ซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่ 17 (พ.ศ.2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ.2509 ได้กำหนดประเภทใบอนุญาตขายยาเส้นหรือยาสูบไว้ 3 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1  ใบอนุญาตขายยาสูบชนิดบุหรี่ซิกาแรต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
ประเภท 1 สำหรับการขายโดยไม่จำกัดจำนวน 
ประเภท 2 สำหรับการขายส่งโดยจำกัดจำนวน ครั้งละไม่เกิน 20,000 มวน
        ประเภท 3 สำหรับการขายปลีก ครั้งละไม่เกิน 1,000 มวน 
กรณีที่ ใบอนุญาตขายยาสูบ(ยกเว้นบุหรี่ซิกาแรต) ได้แก่ ยาสูบชนิดบุหรี่ซิการ์ บุหรี่อื่น ยาเส้นปรุง ยาเคี้ยว 
ประเภท 1 สำหรับการขายโดยไม่จำกัดจำนวน
ประเภท 2 สำหรับการขายส่งโดยจำกัดจำนวนครั้งละไม่เกิน 20,000 มวน ถ้าเป็นยาเส้นปรุง หรือยาเคี้ยว ครั้งละไม่เกิน 10 กิโลกรัม
ประเภท 3 สำหรับการขายปลีก ครั้งละไม่เกิน 1,000 มวน ถ้าเป็นยาเส้นปรุงหรือยาเคี้ยว ครั้งละไม่เกิน 200 กรัม     
กรณีที่ ใบอนุญาตขายยาเส้น 
ประเภท 1 สำหรับการขายโดยไม่จำกัดจำนวน
ประเภท 2 สำหรับการขายครั้งละไม่เกินน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
ประเภท 3 สำหรับผู้เพาะปลูกต้นยาสูบเพื่อทำยาเส้นจากใบยาที่ปลูกและหั่นเอง และได้ขายยาเส้นนั้นให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบ
เมื่อยื่นคำขอแล้ว เจ้าพนักงานสรรพสามิตจะดำเนินการตรวจสอบสถานที่ที่ขอรับอนุญาต เฉพาะในกรณีใบอนุญาตขายยาสูบหรือยาเส้นประเภท 1 เท่านั้น โดยต้องไม่เป็นสถานที่ต้องห้ามขายยาสูบและจะต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตก่อน แล้วเจ้าพนักงานสรรพสามิตจึงจะออกใบอนุญาตให้ 
แต่ในกรณีใบอนุญาตขายยาสูบหรือยาเส้นประเภท 2 และประเภท 3 จะไม่มีขั้นตอนการตรวจสอบสถานที่ที่ขอรับอนุญาตโดยเจ้าพนักงานสรรพสามิต ซึ่งกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมยาสูบ พ.ศ.2555 ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายยาสูบแต่ละประเภท ดังนี้ 
...
อ่านรายละเอียดทั้งหมด