ธุรกิจความงาม สุขภาพ สปา

เนื่องจากในปัจจุบันกิจกรรมด้านสุขภาพได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติ เห็นได้จากการขยายตลาด “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” ซึ่งมีให้เลือกทั้งบริการด้านการแพทย์ตามโรงพยาบาล สถานพยาบาล และสถานบริการต่างๆ การแพทย์แผนไทย การตรวจสุขภาพ  และบริการด้านการเสริมความงาม เช่น สถานความงามดูแลผิวหน้า และผิวพรรณ ที่อาจเปิดให้บริการในรูปแบบคลินิกหรือสถานความงาม รวมถึงบริการส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการนวดแผนไทย และสปา ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งประเทศไทยยังมีความโดดเด่นในเรื่องคุณภาพการรักษาอยู่ในมาตรฐานสากล พร้อมความสามารถบุคลากรทางการแพทย์และค่าใช้จ่ายในบริการทางการแพทย์ที่สมเหตุผล
ปัจจุบัน หนึ่งในธุรกิจการบริการด้านสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก คือ ธุรกิจสปา
ธุรกิจสปา มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสถานบริการสปาที่ให้บริการด้านการดูแลและส่งเสริมสุขภาพด้วย ซึ่งจะมีห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้บริการ หรือสถานบริการสปาที่ให้บริการในรีสอร์ตหรือโรงแรม หรือบนเรื่อสำราญ แต่ในทางกฎหมาย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยฯ และพระราชบัญญัติสถานบริการ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 ได้กำหนดรูปแบบของ “ สถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย” ไว้ 3 แบบ ดังนี้
  1. กิจการสปาเพื่อสุขภาพ หมายถึง การประกอบกิจการที่ให้การดูแล และเสริมสร้างสุขภาพ โดยบริการหลักที่จัดไว้ประกอบด้วย การนวดเพื่อสุขภาพและการใช้น้ำเพื่อสุขภาพโดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วย เช่น การอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนบำบัด และการควบคุมอาหาร โยคะและการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ หรือไม่ก็ได้
2. กิจการนวดเพื่อสุขภาพ หมายถึง การประกอบกิจการนวดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ความเมื่อยล้า ความเครียด ด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การดัด การดึง การประคบ การอบ หรือโดยวิธีการอื่นใดตามศาสตร์และศิลปะของการนวดเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้ ต้องไม่มีสถานที่อาบน้ำโดยมีผู้ให้บริการ
3. กิจการนวดเพื่อเสริมสวย หมายถึง การประกอบกิจการนวดในสถานที่เฉพาะ เช่น ร้านเสริมสวยหรือแต่งผม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสวยงามด้วยวิธีการกด การคลึง การบีบ การจับ การประคบ การอบ หรือด้วยวิธีการอื่นใดตามศิลปะการนวดเพื่อเสริมสวย ทั้งนี้ ต้องไม่มีสถานที่อาบน้ำโดยมีผู้ให้บริการ
ผู้ประกอบการที่มีความสนใจจะดำเนินธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อเสริมสวย นอกจากจะต้องคำนึงถึงความสวยงาม สภาพแวดล้อมของสถานที่ ราคาในการให้บริการ เทคนิควิธีการนวดแล้ว ยังจะต้องตรวจสอบถึงมาตรฐานสถานประกอบการ เพื่อควบคุมดูแลสถานประกอบการเหล่านี้ให้ดำเนินการเป็นไปตามมาตรฐานสุขลักษณะของสถานประกอบกิจการบริการ และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ อีกทั้งยังเป็นการแยกความแตกต่างระหว่างสถานประกอบการเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวย ออกจากสถานบริการหรือสถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัวซึ่งมีผู้ให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งถ้าผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยฯ กำหนดไว้ ใน 4 กรณี ดังต่อไปนี้...
อ่านรายละเอียดทั้งหมด