รับเหมาก่อสร้าง

เนื่องจากผู้คนในปัจจุบันมีความต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่อาศัยในแนวราบ ทั้งประเภทบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ รวมถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก็น่าจะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลที่ผ่านมา ทั้งในด้านมาตรการทางการเงิน มาตรการลดค่าธรรมเนียม และมาตรการทางภาษี ส่งผลให้ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นการรับจ้างช่วงต่อจากผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ หรือการรับก่อสร้างที่อยู่อาศัยจากลูกค้าโดยตรงก็ตาม ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในการก่อสร้างจำนวนมาก มีการขุดดินเพื่อนำดินไปถมพื้นที่ที่ทำการก่อสร้างที่อยู่อาศัยหรือเพื่อกิจการอื่นอย่างกว้างขวาง ซึ่งตามพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 นั้น ได้ให้ความหมายของคำว่า “ดิน” และ “ขุดดิน”  
“ดิน” หมายความรวมถึง หิน กรวด หรือทราย และอินทรียวัตถุต่างๆ ที่เจือปนกับดิน
  “ขุดดิน” หมายความว่า  กระทำแก่พื้นดินเพื่อนำดินขึ้นจากพื้นดิน หรือทำให้พื้นดินเป็นบ่อดิน 
ดังนั้น เพื่อควบคุมการขุดดินหรือถมดินที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรือกิจการอื่น ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ มิให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สิน และกระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยของประชาชน ผู้ประกอบการจึงต้องแจ้งการขุดดินหรือการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกครั้งเสมอก่อนทำการขุดดินหรือถมดิน
1. การแจ้งขุดดิน
  1. การขุดดินที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน ดังนี้
1.1   การดำเนินการขุดดินนั้นจะต้องเป็นการดำเนินการในท้องที่ที่พระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ. 2543 ใช้บังคับ 
1.2   การขุดดินจะต้องเข้าลักษณะตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน คือ การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินเกิน 3 เมตร หรือมีพื้นที่ปากบ่อดินเกินหนึ่งหมื่นตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดโดยการประกาศของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องไม่เป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติการขุดดิน และถมดิน พ.ศ. 2543 ที่สำคัญ การก่อสร้างบ้านนั้น จำต้องมีการถมที่ดิน ซึ่งดินที่ถมแล้วจะต้องมีความแข็งหรือความแน่นของพื้นดินเพียงพอที่จะเป็นฐานของบ้าน โดยไม่ทำให้บ้านนั้นทรุดตัวลง ดังนั้น กฎหมายจึงได้เข้ามาควบคุมในเรื่องการถมดินเช่นกัน ดังนั้น หากผู้ประกอบการรายใดประสงค์จะทำการถมดิน ให้ทำการแจ้งการถมดินต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ทุกครั้งเสมอก่อนทำการขุดดิน
2. การแจ้งถมดิน
1. การถมดินที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน ดังนี้
1.1 การดำเนินการถมดินนั้นจะต้องเป็นการดำเนินการในท้องที่ที่พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดินใช้บังคับ 
1.2 การถมดินจะต้องเข้าลักษณะตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน คือ การถมดินโดยมีความสูงของเนินดินเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่เกินกว่าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดซึ่งการประกาศของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน 
...
อ่านรายละเอียดทั้งหมด