ไม้

อุตสาหกรรมไม้ และเครื่องเรือน สามารถแบ่งออกได้ 2 ระยะ คือ
1. อุตสาหกรรมต้นน้ำ  เป็นการนำไม้ท่อนซุงมาแปรรูป
2. อุตสาหกรรมกลางน้ำและปลายน้ำ เป็นการนำไม้แปรรูปมาไส ถาก เลื่อย ฯลฯ เพื่อนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง  เก้าอี้  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังรวมถึงการนำเศษไม้ขี้เลื่อยที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เช่น บอร์ด MDF (Medium Density Fiber Board) ก้านธูป ไม้อัด ฯลฯ
การเริ่มประกอบธุรกิจการผลิตที่เกี่ยวกับไม้ และเครื่องเรือนมีการขออนุญาตที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. การตั้งโรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับไม้ และเครื่องเรือน
การตั้งโรงงานมีกฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 การจำแนกว่าโรงงานใดอยู่ภายใต้กฎหมายฉบับใดพิจารณาจากพื้นที่ตั้งของโรงงาน
  1.1 กรณีการตั้งโรงงานในพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรม พื้นที่ในชุมชนอุตสาหกรรม หรือพื้นที่เอกเทศ
พื้นที่ในเขตประกอบการอุตสาหกรรม เป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ต้องได้รับการพิจารณา และประกาศกำหนดเขตประกอบการอุตสาหกรรมจากกระทรวงอุตสาหกรรม สิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายโรงงาน เช่น เขตประกอบอุตสาหกรรมสยามอีสเทิร์น อินดัสเตรียล พาร์ค จังหวัดระยอง เป็นต้น 
        พื้นที่ในชุมชนอุตสาหกรรม พื้นที่โดยภาคเอกชนเพื่อรองรับอุตสาหกรรม ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม การพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ต้องได้รับการพิจารณาและกำหนดพื้นที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สิทธิประโยชน์ที่ได้รับคือ การพิจารณาอนุญาตตามกฎหมายโรงงานจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากได้มีการพิจารณาพื้นที่โดยรวม และประเภทอุตสาหกรรมที่จะประกอบกิจการในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว 
        พื้นที่เอกเทศ เป็นพื้นที่ที่ผังเมืองระบุให้เป็นสีม่วง สำหรับสร้างโรงงาน หรือสีเม็ดมะปราง สำหรับสร้างคลังสินค้า
 ...
อ่านรายละเอียดทั้งหมด